วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กระบวนการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ

นำมาจากแผนภูมิกระบวนการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ

ฏีกาศึกษา ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15964/2553
   
พฤติการณ์ของจำเลยที่เป็นเจ้าของที่ดินได้พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความใดๆ ให้ชัดเจนว่าต้องการจะขายที่ดิน แล้วยังมอบโฉนดที่ดินสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนของจำเลยให้ ล. ผู้ติดต่อจะซื้อที่ดินไปดำเนินการนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ ล. และ อ. ผู้รับมอบอำนาจนำไปใช้ในกิจการอื่นด้วยการกรอกเพิ่มเติมข้อความว่า ให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองแทนจำเลย ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยจะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนขึ้นให้การต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตเพื่อให้ตนพ้นความรับผิดหาได้ไม่

วิเคราะห์

กรณีนี้เป็นตัวอย่างของไม่รอบคอบ การพิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความใดๆ ให้ชัดเจนว่าต้องการจะขายที่ดิน แถมยังมอบโฉนดที่ดำ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ให้แก่ผู้อื่น ทำให้ศาลฏีกามองว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ฎีกานี้น่าสนใจครับ อยากให้ทุก ๆ คน อย่าไว้ใจใครง่าย ๆ ไม่เช่นนั้น นอกจากจะขายที่ดินไม่ได้แล้ว ยังต้องเสียเงินอีกตะหาก ขอให้ยึดสุภาษิตไทย "อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง"

ฏีกาศึกษา มาตรา 19

ตั้งใจไว้ว่าจะลองหาฏีกาที่เกี่ยวกับมาตรา 19 ที่เกี่ยวกับการบรรลุนิติภาวะ ปรากฎว่าได้ฉบับนี้มา แถมน่าสนใจเพราะมันรวมไปถึงวิธิพิจารณาความอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519
    โจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดวันใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้นับอายุตั้งแต่วันต้นแห่งปีปฏิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่เกิด จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่อนับถึงวันเกิดเหตุโจทก์ที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ ขณะฟ้องคดีโจทก์ทั้ง 4 เป็นผู้เยาว์ ก็เป็นเพียงบกพร่องในเรื่องความสามารถ ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง

เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)

เรื่องอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 วรรค 2 นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ไม่ใช่แต่เพียงบิดาเท่านั้นที่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร มารดาก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน

การขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค 3 หมายถึงการขาดสิทธิในอันที่จะได้รับการอุปการะ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงชอบที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นจากจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า บิดาโจทก์จะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์อยู่หรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)

การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่

ว่าด้วยศาล

ศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มี 4 ประเภท ดังนี้
  1. ศาลรัฐธรรมนูญ
  2. ศาลยุติธรรม
  3. ศาลปกครอง
  4. ศาลทหาร
มาตราที่เกี่ยวข้อง

มาตรา ๒๑๘  ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

มาตรา ๒๒๓  ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น

ให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น และจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้

มาตรา ๒๒๘  ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การแต่งตั้งและการให้ตุลาการศาลทหารพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

รายละเอียดโปรดติดตามตอนต่อไป

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การพิจารณาโดยขาดนัด

การพิจารณาโดยขาดนัด
การขาดนัดมี  2 กรณี
  • ขาดนัดยื่นคําให้การ ตาม ป.วิ .พ. ม.197-ม.199ฉ
  • ขาดนัดพิจารณา ตาม ป.วิ .พ. ม.200-ม.207



 นำมาจาก
http://www.thaibar.thaigov.net/sheet/janya/1.pdf

กลับมาอีกครั้ง

หลังจากเหมือนจะหมดไฟ ในการเรียนหนังสือไปนาน ก็เลยไปสอบประจำภาคการศึกษาที่ 1 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมา ผู้คุมสอบถามว่า "รหัส 50 หลายปีแล้วนะ" แหม .... อึ้งแฮะ สงสัยได้เวลากลับมาตั้งใจเรียน ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบหรือทำอะไร แต่เป็นการจบในสิ่งที่ได้เริ่มไว้ ต้องทำให้สำเร็จ ไม่อยากเริ่มอะไรไว้แล้วทำไม่สำเร็จ ฟ้าเป็นพยาน เรากลับมาเรียนต่อแล้ว (แต่อาจต้องเปลี่ยนสนามสอบ 55555)