วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

หน่วยเน้น ภาค 1/2552 มสธ

นำมาจากเว็บบอร์ด มสธ

  1. กฎหมายแพ่ง 1 2,3,7-9,12-14
  2. กฎหมายอาญา 1 5-9,11-12
  3. กฎหมายแพ่ง 2 2,4,7,8,11-13
  4. กฎหมายอาญา 2 2,3,9,10,12,13
  5. กฎหมายพาณิชย์ 1 2,3,9,10,12,13
  6. กฎหมายพาณิชย์ 2 3,6-8,13-15
  7. กฎหมายแพ่ง 3 1,2,5-7,9,11-13
  8. กฎหมายวิธีสบัญญัติ 1 2,4,8,9,12,13
  9. กฎหมายวิธีสบัญญัติ 2 1,2,5,6,11,12
  10. กฎหมายวิธีสบัญญัติ 3 2-4,7-9
  11. กฎหมายภาษีอากร 1 5-8,10-12
ขอบันทึกไว้กันลืม

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ตัวอย่างโจทย์ มสธ เรื่องทรัพย์สิน

สืบเนื่องจากมีผู้โพสข้อความสนเว็ปบอร์ดของ สาขานิติศาสตร์ มสธ. ใช้ชื่อว่า อาจารย์ แต่ก็ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง แต่เห็นว่าตอบได้ดี เลยขอนำมาลงไว้ที่นี่อีกที่นึง

โจทย์ ข้อ 1. ดำเป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งแต่ปล่อยไว้ไม่ได้ทำประโยชน์ แดงเข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเวลากว่าสิบปี ดำทราบเรื่องการครอบครองของแดง ดำจึงนำที่ดินดังกล่าวไปจำนองกับธนาคาร แดงทราบเรื่องจึงมาปรึกษาท่านว่า ฟ้องศาลบังคับให้ดำไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้ โดยอ้างว่าดำไม่สุจริต ได้หรือไม่

หลังจากที่ได้อ่านคำตอบของนักศึกษาหลาย ๆ ท่านที่ได้มาเฉลยกันในกระทู้ต่าง ๆ ขอชื่นชมนักศึกษาทุกท่าน ที่มีความใฝ่รู้กันเป็นอย่างดีมาก ๆ ต่อไปนี้จะขอชี้แจงเหตุผลต่าง ๆ ที่เป็นข้อสงสัยในเบื้องต้นให้กับนักศึกษา เนื่องจากเป็นข้อที่ทุกคนถามกันมามาก

หลักกฎหมาย ปพพ. มาตรา ๑๒๙๙ บัญญัติว่า ถ้า มีผู้ได้มา ซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพยสิทธิ อันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ โดยทางอื่น นอกจาก นิติกรรม สิทธิของ ผู้ได้มานั้น ถ้า ยังมิได้จดทะเบียน ไซร้ ท่านว่า จะมีการเปลี่ยนแปลง ทางทะเบียน ไม่ได้ และ สิทธิ อันยังมิได้ จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมา โดย เสียค่าตอบแทน และ โดยสุจริต และ ได้จดทะเบียน โดยสุจริตแล้ว

สิ่งที่นักศึกษาต้องวินิจฉัยอันดับแรก คือ ดำ เป็น "บุคคลภายนอก" ตามมาตรา 1299 วรรคสอง หรือไม่

คำตอบ ดำ เป็น "เจ้าของเดิม" จึงไม่ใช่ "บุคคลภายนอก" ตามมาตรา 1299 วรรคสอง ( ดูเอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน หน่วยที่ 9- 15 หน้า 27 บรรทัดที่ 9 ) แสดงว่า ดำ ไม่ใช่ "บุคคลภายนอก" ที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1299 วรรคสอง

ถ้าหากถามนักศึกษาต่อไปว่า "บุคคลภายนอก" ตามคำถามข้อนี้ คือ ใคร คำตอบ คือ ผู้รับจำนอง ซึ่งได้แก่ ธนาคารนั่นเอง (ดูเอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน หน่วยที่ 9- 15 หน้า 28 คำพิพากษาฎีกาที่ 165/2536 )

ที่นักศึกษาต้องวินิจฉัยอันดับต่อมา คือ แดง ฟ้องใครเพื่อไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้
ตอบ คือ แดง ฟ้อง ดำ ( คำถามใช้ถ้อยคำว่า "แดงทราบเรื่องจึงมาปรึกษาท่านว่าฟ้องศาล บังคับให้ดำไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้ โดยอ้างว่าดำไม่สุจริต" )

เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงตามคำถามเช่นนี้แล้ว ถามนักศึกษาต่อไปว่า ดำได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1299 วรรคสอง หรือไม่

ตอบ คือ ไม่ อาจารย์ที่ออกข้อสอบตั้งใจถามหลักฎหมายประเด็นนี้ จึงใช้คำถามว่า "...มาปรึกษาท่าน....ได้หรือไม่ " เป็นความต้องการที่จะให้นักศึกษาได้แนะนำ ดำ ว่าทำได้หรือไม่

อาจมีนักศึกษาโต้แย้งว่า
  1. แดง ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนต่อสู้ผู้รับจำนองได้( อ้างอิง ฎ.6663/2538, ฎ.5641/2548) ( แต่ตามคำถาม แดง ยกข้อสู้ "ผู้จำนอง" คือ ดำ มิใช่ยกข้อต่อสู้ธนาคาร "ผู้รับจำนอง" )
  2. แม้แดงจะเป็นมีสิทธิจด ทะเบียนชองตนได้อยู่ก่อนก็ตามจะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่าง ธนาคารกับดำไม่ได้ เพราะธนาคารสุจริตและเสียค่าตอบแทน1300 แดงจึงได้ที่ดินติดจำนองไป ( แต่ตามคำถาม แดงยกข้อสู้ "ผู้จำนอง" คือ ดำ มิใช่ยกข้อต่อสู้ธนาคาร "ผู้รับจำนอง" )
  3. เมื่อแดงมาปรึกษา อธิบายได้ว่า การที่แดงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตามปพพ.มาตรา 1382 ก่อนที่ดำจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่แดงยังไม่ได้จดทะเบียนการได้ มากับเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ปพพ.มาตรา 1299 วรรคสอง แดงจะขอบังคับให้จำเลยไถ่จำนอง ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนแห่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ตามไม่ได้
    ปพพ .1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301 มาใช้บังคับโดยอนุโลม อีกทั้งธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดีเมื่อไม่ได้โจทก์ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษา ถึงธนาคารให้ ( กรณีนี้ไม่อาจนำมาตรา 1301 มาใช้ปรับกับข้อเท็จจริงตามคำถามได้ เพราะมาตรา 1301 บัญญัติว่า บทบัญญัติ แห่ง สองมาตราก่อนนี้ ท่านให้ใช้บังคับถึง การเปลี่ยนแปลง ระงับ และ กลับคืนมา แห่ง ทรัพยสิทธิ อันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ นั้นด้วย โดยอนุโลม โปรดดู คำว่า "การเปลี่ยนแปลง" หมายความว่า คือ การที่ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์นั่นมี การเปลี่ยนแปลงขอบเขต ฯ แต่ต้องไม่ถึงกับทำให้ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นสิ้นสุดลง ( ดูเอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน หน่วยที่ 9- 15 หน้า 52 ) แต่ข้อเท็จจริง ตามคำถามข้อนี้ การ "ฟ้องศาลบังคับให้ ดำไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้ " แสดงว่า ตามเจตนาของดำ "ต้องการ" ให้ทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์( การจำนอง ) นั้น " สิ้นสุด" ลงแล้ว "ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง" จึงไม่ใช่กรณีของมาตรา 1301
  4. มี นักศึกษาอ้างถึง คำพิพากษาฎีกาที่ 1079/2479 รับจำนองที่ดินไว้ได้มี การพิพาทอันในเรื่องที่ดิน และคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งอยู่ ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิของเขาได้ก่อน เพราะได้ ครอบครองปรปักษ์มากกว่า 10 ปี จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ดังนี้ย่อมถือได้ว่าผู้รับจำนอง มิได้กระทำการโดยสุจริต เมื่อผู้จำนอง (ผู้โอน) แพ้ความการจดทะเบียนจำนองนั้น จะใช้ยันผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ (บทที่ 9 หน้า 37) แต่ตามคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ ( ฎีกาที่ 1079/2479 ) เป็นเรื่องที่ผู้รับจำนอง ไปรับจำนอง ทั้ง ๆ ที่ รู้ว่า มีการต่อสู้คดีกันเรื่องครอบครองปรปักษ์อยู่แล้ว ผู้รับจำนองจึงไม่สุจริต และประเด็นของฎีกานี้ต้องการบอกเพียงว่า ผู้ครอบครองปรปักษ์ตามคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ อยู่ในฐานะ " อันจะให้ จดทะเบียนสิทธิของตนได้ อยู่ก่อน" ตามมาตรา 1300 เท่านั้นเอง
กล่าว โดยสรุป คำตอบที่ถูก ก็ คือ แม้แดงยังมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ดำได้ เพราะดำมิใช่บุคคลภายนอก แดงจึงฟ้องศาลบังคับให้ดำไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้ โดยอ้างว่าดำไม่สุจริต ได้

ข้อสังเกต มาตรา 1299 วรรคสอง ใช้คำว่า "ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้" ทำให้เห็นได้ว่า หากแดงฟ้องศาลบังคับให้ดำไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้ โดยอ้างว่าดำไม่สุจริต ก็เป็นเรื่องที่ แดงนำเรื่องสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ดำได้ นั่นเอง

แต่ตอนเฉลย ที่อยู่ในวารสาร นิติศาสตร์ของมสธนั้น ตอบกันคนละเรื่องเลย ตกลงว่าไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เพราะการจำนองก็เป็นการจดทะเบียนอย่างนึง

แล้วตูจะเชื่อใครได้วะเนี่ย

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เกี่ยวกับการหมั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8954/2549

การที่ศาลจะวินิจฉัยว่าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ จะต้องฟังให้ได้เสียก่อนว่า โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 หรือไม่ เพราะการหมั้นตามกฎหมายนั้นต้องมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย มิใช่เมื่อมีการมอบของหมั้นแล้ว ก็มีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 1437

ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำพิธีหมั้นตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสต่อกัน ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เงินสดจำนวน 1,444,000 บาท และทองคำรูปพรรณที่จำเลยที่ 1 นำไปมอบให้แก่ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องเรียกคืนฐานผิดสัญญาหมั้นได้

ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีข้อตกลงกันว่าโจทก์ทั้งสองจะคืนเงินสดและทองรูปพรรณที่ใช้ในพิธีหมั้นให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงาน ดังนั้น เงินสดและทองรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่เป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาแสดงในวันหมั้นเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทั้งสองฝ่ายเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในเงินสดและทองคำรูปพรรณดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 นำไปให้จำเลยที่ 1 ในวันแต่งงานจึงเป็นการส่งคืนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลง มิใช่การฝากทรัพย์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน

1299 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301 อีกทั้งธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าจะบังคับจำเลยจดทะเบียนไถ่จำนองได้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่จำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301 อีกทั้งธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้นชอบแล้วฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

ฉบับปฐมฤกษ์

และแล้วก็ได้มีบล็อกเกี่ยวกับการเีรียนกฎหมายกะเค้าซะทีนึง หลังจากที่เรียนมาก็พักใหญ่ พักใหญ่ ๆ เนี่ยมีความหมายทั้งสองนัยยะ คือเรียนมาก็นานแล้วตั้งแต่ปี 50 จนปัจจุบัน อีกความหมายนึงก็คือเรียนมานานแต่เก็บไปได้จริง ๆ แค่สี่ตัว สงสัยจะได้เรียนอีกนาน ดังนั้นสิ่งที่อยากจะเก็บไว้ในที่นี้คือ สิ่งที่ได้อ่านมาและทำความเข้าใจมาบ้าง เพื่อจะได้กันลืม และระลึกได้ว่าเคยได้เรียนและทำอะไรมาบ้าง และถ้าสิ่งที่ได้เขียนไว้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้มาพบเห็น มันก็จะประเสริฐมากทีเดียว